ปัจจุบันสารเคมีที่ใช้กำจัดปลวกในประเทศไทยมีหลากหลายชนิด แต่สามารถแบ่งออกออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

 

     1. กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต(Organophosphate) เป็นสารที่มีอันตรายต่อคน และสัตว์ รวมถึงมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สารเคมีในกลุ่มนี้ที่ใชในการกําจัดปลวก มี 2 ชนิดคือ Chlorpyrifos และ Fenobucarb ใช้เพื่อทําเป็นแนวป้องกันปลวกและสามารถฆ่าปลวกได้ทันทีเมื่อปลวกสัมผัสกับสาร

     2. กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์(Synthetic Pyrethroid) เดิมเป็นสารสกัดจากพืช ที่เคยนํามาใช้ในการกําจัดแมลง คือ Pyrethrin ซึ่งสกัดจากพืช แต่มีการสลายตัวเร็วจึงใช้กําจัดปลวกไม่ได้ ปัจจุบันจึงมีการสังเคราะห์สารชนิดนี้ขึ้นมาใหม่ให้มีความคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นจึงสามารถใช้กําจัดปลวกได้เรียกสารในกลุ้มนี้ว่า Pyrethroid สังเคราะห์ (Synthetic pyrethroids) ซึ่งมีกลิ่นอ่อน เป็นอันตรายสูงต่อสัตว์น้ำ เมื่อนํามาใช้กําจัดปลวกจะใช้เพื่อเป็นสารไล่ปลวก

ตัวอย่างของสารสังเคราะห์ในกลุ่มนี้ที่ใช้กําจัดปลวก มี 7 ชนิดคือ Cypermethrin, Permethrin , Alphacypermethrin, Bifenthrin, Deltamethrin Fenvalerate และ Lamdacyhalothrin 

     3. กลุ่มอื่นๆ(Other Groups) สารเคมีที่ใช้กําจัดปลวก สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ 

3.1 กลุ่มคลอโรนิโคตินิล(Chloronicuetinyl) เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทําให็ระบบประสาทของแมลงผิดปกติ ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ที่ใช้ในการกําจัดปลวก คือ Imidacloprid 

3.2 กลุ่มเฟนนีลไพราโซล(Phenyl Pyrazole) เป็นสารเคมีที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อของปลวกให้ทํางานมากกว่าปกติมีทําให้เกิดการชักและตายได้ ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ที่ใช้กําจัดปลวกคือ Fipronil 

3.3 กลุ่มไซเลน (Silane) ได้แก่ Silafluofen 

 

     4. การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ (Wood Preservative) มีคุณสมบัติเปนทั้งสารกําจัดแมลงและสารกําจัดเชื้อรา 

 

     5. การใช้สารสกัดจากพืช เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเสม็ด ใบหรือเมล็ดสะเดา ใบกะเพรา เป็นต้น สารสกัดจากพืชนั้นอาจใช้ในส่วนของน้ํามันหอมระเหย ซึ่งจะออกฤทธิ์เร็วแต่จะมีอายุการใช้งานสั้น หรืออาจใช้ในรูปแบบของสารสกัดในสารสะลายต่างๆ เช่น Petroleum Ether, Chloroform และ Ethyl Acetate เป็นต้น