มด  เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidaeจึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

มดดำ

ตัวอ่อนเมื่อออกจากไข่จะมีลักษณะเหมือนหนอนสีขาว ส่วนหัวเรียวเล็ก และจะถูกเลี้ยงโดยมดตัวเต็มวัย

ต่อมาตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้สีขาวขุ่น ลักษณะคล้ายมดตัวเต็มวัย บางครั้งอาจมีเปลือกเหมือนรังไหมห่อหุ้มอยู่

ร่างกายของมดตัวเต็มวัยแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

ระยะเวลาตั้งแต่เป็นไข่จนโตเต็มวัยใช้เวลาตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สายพันธุ์ของมด อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร

ไข่ที่ได้รับการผสมจะกลายเป็นมดตัวเมีย ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะกลายเป็นมดตัวผู้

พฤติกรรม

มดดำถือเป็นตัวสร้างความรำคาญ แล้วยังมีพฤติกรรมคุ้ยหาอาหารในครัว กองขยะ มูลสุนัข ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น เชื้อซาลโมเนลลา

วิธีควบคุมที่ได้ผลที่สุดคือ การค้นหารังและกำจัด

 

มดคันไฟ (Fire Ant)

ลักษณะทางกายภาพ

มดราชินีมีขนาดยาว 5/8 นิ้ว

มดงานมีขนาดยาว 1/8 - 1/4 นิ้ว

ส่วนหัวและตัวมีสีน้ำตาลแกมทองแดง และส่วนท้องจะสีเข้มกว่าส่วนอื่น

ลักษณะเด่น คือ มดราชินีจะมีหนวดแยกเป็นสองส่วน

คลิกอ่านวงจรชีวิตและพฤติกรรม

วงจรชีวิต

หลังจากออกจากรังและผสมพันธุ์แล้ว มดราชินีจะหาบริเวณที่เหมาะสมในการวางไข่ มดราชินีจะวางไข่ได้ถึง 125 ใบในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ

ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 8-10 วัน และอยู่ในระยะดักแด้ประมาณ 9-16 วัน

มดราชินีจะให้ตัวอ่อนกินของเหลวจากต่อมน้ำลายและกล้ามเนื้อปีกที่หลุดออก จนกว่ามดงานตัวแรกจะเกิดขึ้น หลังจากตัวอ่อนลอกคราบออกมาเป็นมดงาน มดราชินีก็จะกลับไปทำหน้าที่วางไข่อีกครั้ง โดยสามารถวางไข่ได้มากถึง 1,500 ใบต่อวัน มดงานจะทำหน้าที่ดูแลตัวอ่อน สร้างรัง และหาอาหาร

มดตัวผู้ที่ผสมพันธุ์ได้จะถูกผลิตในฤดูกาลต่อมา

พฤติกรรม

อาหารของมดงานประกอบด้วย ซากสัตว์ที่ตายแล้ว เช่น ซากแมลง ไส้เดือน และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง มดงานยังทำหน้าที่เก็บน้ำหวานจากดอกไม้ อาหารรสหวาน โปรตีน และไขมันอีกด้วย

ที่ตั้งของรังมดอาจเป็นเนินดินสูงไม่เกิน 40 ซม. หรือตั้งอยู่ติดกับวัตถุบนดิน เช่น ท่อนไม้

พวกมันจะโต้ตอบอย่างรุนแรงหากรังมันถูกรบกวน โดยจะกัดต่อยให้เกิดความเจ็บปวด และเกิดตุ่มหนองภายใน 48 ชั่วโมงต่อมา

 

มดเหล่านี้เป็นสัตว์รบกวนต่อการเกษตรและชุมชนเมือง โดยทำลายพืชผลทางการเกษตรและรบกวนที่พักอาศัยทั้งภายนอกและภายใน

 

มดเหม็น (Odorous House Ant)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tapinoma sessile

ลักษณะทางกายภาพ

มีสีน้ำตาล หรือ ดำ

ขนาดยาว 1/16 ถึง 1/8 นิ้ว

หนวดมี 12 ปล้องและไม่มีติ่งที่ปลายหนวด

มี 6 ขา

คลิกอ่านวงจรชีวิตและพฤติกรรม

วงจรชีวิต

ใช้เวลา 34-38 วัน ในการเติบโตเป็นตัวเต็มวัย

โดยปกติมีอายุอยู่ได้หลายปี

พฤติกรรม

การกินอาหาร - กินอาหารในครัวเรือนเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวาน เช่น ของหวาน และผลไม้จำพวกเมล่อน และยังกินอาหารสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

สถานที่ - มดเหม็นชอบความชื้น ในบริเวณที่ร้อนและแห้ง อาจพบรังในต้นไม้ภายในบ้านหรือแม้กระทั่งฝาชักโครก

กลิ่น - เมื่อถูกบี้จะมีกลิ่นคล้ายมะพร้าว

 

อาณาจักร - มีจำนวนตั้งแต่ 100 - 10,000 ตัว